หลักสูตรการศึกษา

ระดับปริญญาเอก

ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) มุ่งเน้นการพัฒนาวิศวกรและนักวิจัยที่มีความรู้ความสามารถในระดับสูงทางด้านสาขาวิชาวิศวกรรมเคมี โดยเน้นไปที่กระบวนการทำงานวิจัยผ่านประสบการณ์การทำวิทยานิพนธ์ทางสาขาวิศวกรรมเคมี เพื่อให้สามารถแสวงหาความรู้ใหม่ได้อย่างมีอิสระ สามารถวางแผนการทำงาน ปฏิบัติงานได้ตามแผนที่วางไว้ สามารถสรุปข้อมูลและสื่อสารผ่านทางวารสารทางวิชาการหรือการเสนอผลงานในที่ประชุมทางวิชาการทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการทำหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่เน้นไปที่การแก้ไขปัญหาของโรงงานซึ่งมีส่วนในการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ รวมทั้งเน้นการผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความสามารถในการคิดอย่างสร้างสรรค์เพื่อทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ มีการบูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ และเพื่อเป็นการเตรียมบุคลากรที่มีความรู้และความชำนาญในการทำงานและดำเนินงานวิจัยให้กับภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นหลักสูตรบูรณาการที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะบุคคลของนักศึกษาระดับปริญญาเอกที่จะทำให้มีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ทางด้านสาขาวิชาวิทยาการและวิศวกรรมพอลิเมอร์ขั้นสูง ทักษะอาชีพของนักศึกษาระดับปริญญาเอกจะได้รับการพัฒนาจากการลงมือทำงานวิจัยด้วยตนเอง โดยมีการสนับสนุนทางด้านกายภาพจากภาควิชาฯ ซึ่งมีเครื่องจักรและอุปกรณ์อย่างมากมายทางด้านกระบวนการขึ้นรูปและการวิเคราะห์สมบัติของวัสดุพอลิเมอร์ และจากการสนับสนุนในด้านการให้คำปรึกษาวิชาการและงานวิจัยจากคณาจารย์ประจำที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศและมีประสบการณ์ทำงานวิจัยอย่างมาก หลักสูตรมีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมให้นักศึกษาระดับปริญญาเอกสามารถที่จะสร้างสรรค์ ออกแบบและจัดการงานวิจัยนวัตกรรมทางด้านวิทยาการและวิศวกรรม พอลิเมอร์ที่จะสามารถนำไปสู่การเผยแพร่ในวารสารวิชาการหรือในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่มีคุณภาพระดับโลก กิจกรรมนอกเวลาของหลักสูตรซึ่งจัดให้ผู้ที่มีความสามารถเป็นไปตามเกณฑ์ได้เป็นผู้ช่วยสอนจะเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายการศึกษาในหลักสูตร และยังเป็นเครื่องมือในการพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาเอกให้มีความรับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการในระดับปริญญาตรีและพัฒนาทักษะการสื่อสารจากการมีปฏิสัมพันธ์กับนักศึกษาในชั้นเรียนอีกด้วย
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร ได้ออกแบบขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ นวัตกรรม และผลิตนักเทคโนโลยีอาหารที่มีความรู้ และความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนาขั้นสูง มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และวิพากษ์องค์ความรู้ อีกทั้งยังสามารถต่อยอดความรู้เดิมสู่การบูรณาการเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ และมีความเชี่ยวชาญในการถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูป ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศไทยที่เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้สูงขึ้น ตอบสนองนโยบายประเทศไทย 4.0 สำหรับการสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นโดยใช้การวิจัยเป็นฐานแห่งการพัฒนาจะนำไปสู่การ
ยกระดับนวัตกรรม และการจัดการรูปแบบใหม่ อันจะเป็นแนวทางไปสู่การสร้างความเข้มแข็งจากภายในและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศไทยอย่างสมดุลและยั่งยืน
เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางวิชาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อมุ่งเน้นการเตรียมกำลังคนที่มีความรู้ความสามารถ มีศักยภาพในการสร้างสรรค์และพัฒนางานวิจัย สามารถสร้างองค์ความรู้ของตนเองเพื่อลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากภายนอก ตลอดจนสามารถบูรณาการองค์ความรู้ที่มีกับวิทยาการหรืองานสร้างสรรค์อื่น ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบตามระเบียบวิธีวิจัย นอกจากนี้การผลิตดุษฎีบัณฑิตในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ จะมีบทบาทสำคัญในการนำศักยภาพของประเทศไทยด้านทรัพยากรชีวภาพมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นหลักการสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศแบบยั่งยืน
เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางวิชาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านวิศวกรรมพลังงาน ซึ่งยังมีการเปิดการเรียนการสอนไม่มากนักในประเทศไทย โดยมุ่งเน้นให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ สามารถบูรณาการศาสตร์ทางด้านเทคโนโลยีพลังงานให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทยและของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
1. เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการด้านการจัดการงานวิศวกรรมที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถ มีความชำนาญขั้นสูงในการวิจัยและพัฒนาทางด้านการจัดการงานวิศวกรรม สามารถพัฒนาองค์ความรู้ใหม่และความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง เชื่อมโยงและบูรณาการความรู้ให้เข้ากับศาสตร์สาขาอื่น อันเป็นการนำพาประเทศไปสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ได้
2. เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่โดยมีโครงการพัฒนางานวิจัยร่วมกันในส่วนของการสนับสนุนข้อมูลและทุนการทำวิจัยกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และหน่วยงานภายนอก
3. เพื่อส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือด้านวิชาการ การวิจัยและพัฒนาสำหรับประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน และนานาชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนในด้านความรู้ และงานวิจัยด้านการจัดการงานวิศวกรรม
4.มุ่งเน้นและจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ซึ่งมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่หลากหลายที่ใช้ในการสร้างผลงานวิจัย อาทิเช่น Visual Studio, Mathlab, Premium Solver Gurobi Arena และ Pro-Model
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นหลักสูตรบูรณาการที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะบุคคลของนักศึกษาระดับปริญญาเอกที่จะทำให้มีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ทางด้านสาขาวิชาวิทยาการและวิศวกรรมพอลิเมอร์ขั้นสูง ทักษะอาชีพของนักศึกษาระดับปริญญาเอกจะได้รับการพัฒนาจากการลงมือทำงานวิจัยด้วยตนเอง โดยมีการสนับสนุนทางด้านกายภาพจากภาควิชาฯ ซึ่งมีเครื่องจักรและอุปกรณ์อย่างมากมายทางด้านกระบวนการขึ้นรูปและการวิเคราะห์สมบัติของวัสดุพอลิเมอร์ และจากการสนับสนุนในด้านการให้คำปรึกษาวิชาการและงานวิจัยจากคณาจารย์ประจำที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศและมีประสบการณ์ทำงานวิจัยอย่างมาก หลักสูตรมีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมให้นักศึกษาระดับปริญญาเอกสามารถที่จะสร้างสรรค์ ออกแบบและจัดการงานวิจัยนวัตกรรมทางด้านวิทยาการและวิศวกรรม พอลิเมอร์ที่จะสามารถนำไปสู่การเผยแพร่ในวารสารวิชาการหรือในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่มีคุณภาพระดับโลก กิจกรรมนอกเวลาของหลักสูตรซึ่งจัดให้ผู้ที่มีความสามารถเป็นไปตามเกณฑ์ได้เป็นผู้ช่วยสอนจะเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายการศึกษาในหลักสูตร และยังเป็นเครื่องมือในการพัฒนานักศึกษาระดับปริญญาเอกให้มีความรับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการในระดับปริญญาตรีและพัฒนาทักษะการสื่อสารจากการมีปฏิสัมพันธ์กับนักศึกษาในชั้นเรียนอีกด้วย
เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางวิชาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อมุ่งเน้นการเตรียมกำลังคนที่มีความรู้ความสามารถ มีศักยภาพในการสร้างสรรค์และพัฒนางานวิจัย สามารถสร้างองค์ความรู้ของตนเองเพื่อลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากภายนอก ตลอดจนสามารถบูรณาการองค์ความรู้ที่มีกับวิทยาการหรืองานสร้างสรรค์อื่น ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบตามระเบียบวิธีวิจัย นอกจากนี้การผลิตดุษฎีบัณฑิตในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ จะมีบทบาทสำคัญในการนำศักยภาพของประเทศไทยด้านทรัพยากรชีวภาพมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นหลักการสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศแบบยั่งยืน
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร ได้ออกแบบขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ นวัตกรรม และผลิตนักเทคโนโลยีอาหารที่มีความรู้ และความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนาขั้นสูง มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และวิพากษ์องค์ความรู้ อีกทั้งยังสามารถต่อยอดความรู้เดิมสู่การบูรณาการเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ และมีความเชี่ยวชาญในการถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูป ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศไทยที่เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้สูงขึ้น ตอบสนองนโยบายประเทศไทย 4.0 สำหรับการสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นโดยใช้การวิจัยเป็นฐานแห่งการพัฒนาจะนำไปสู่การ
ยกระดับนวัตกรรม และการจัดการรูปแบบใหม่ อันจะเป็นแนวทางไปสู่การสร้างความเข้มแข็งจากภายในและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศไทยอย่างสมดุลและยั่งยืน
เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางวิชาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านวิศวกรรมพลังงาน ซึ่งยังมีการเปิดการเรียนการสอนไม่มากนักในประเทศไทย โดยมุ่งเน้นให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ สามารถบูรณาการศาสตร์ทางด้านเทคโนโลยีพลังงานให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทยและของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
1. เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการด้านการจัดการงานวิศวกรรมที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถ มีความชำนาญขั้นสูงในการวิจัยและพัฒนาทางด้านการจัดการงานวิศวกรรม สามารถพัฒนาองค์ความรู้ใหม่และความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง เชื่อมโยงและบูรณาการความรู้ให้เข้ากับศาสตร์สาขาอื่น อันเป็นการนำพาประเทศไปสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ได้
2. เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่โดยมีโครงการพัฒนางานวิจัยร่วมกันในส่วนของการสนับสนุนข้อมูลและทุนการทำวิจัยกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และหน่วยงานภายนอก
3. เพื่อส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือด้านวิชาการ การวิจัยและพัฒนาสำหรับประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน และนานาชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนในด้านความรู้ และงานวิจัยด้านการจัดการงานวิศวกรรม
4.มุ่งเน้นและจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ซึ่งมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่หลากหลายที่ใช้ในการสร้างผลงานวิจัย อาทิเช่น Visual Studio, Mathlab, Premium Solver Gurobi Arena และ Pro-Model